ReadyPlanet.com
dot

dot
เลือกเวอร์ชั่น Text Editor
Editor Manual
แนะนำวิธีทำเว็บไซต์เบื้องต้น
Function Update
dot
dot
เว็บไซต์รูปแบบ Responsive web design
จัดการเมนูหลัก
เมนูโค้ดและสคริปต์ภายใต้ <head>
ประวัติการใช้งานระบบ
ตัวนับผู้ชมเว็บ
Google Service/Sitemap
จัดการอีเมลสมัครรับข่าวสาร
dot
dot
ระบบผู้ช่วย
ระบบ Chat
dot
dot
การตั้งอีเมล Pop Mail
dot
dot
bulletจัดการเว็บไซต์
bulletระบบพื้นฐาน
bulletระบบเสริม
bulletบริการสมาชิก
bulletเทคนิคอื่นๆ
bulletText Editor
dot
dot
bulletจัดการแบบฟอร์มติดต่อกลับ


วิธีใส่คีย์เวิร์ดในเว็บไซต์เพื่อให้ Google จัดเว็บไซต์ในอันดับที่ดี

จุดประสงค์ในการเปิดเว็บไซต์ นอกเหนือจากการมีเว็บไซต์ที่สวยและดีแล้ว เจ้าของเว็บไซต์ย่อมต้องการให้มีผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์มาก และทำเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก   โดยเฉพาะการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับผลการค้นหาของ Search Engine โดยเฉพาะ Google ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นช่องทางที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายที่สุด  ในประเทศไทยมีผู้ใช้งานมากกว่า 97% ทีเดียว

 แน่นอนว่า หากเว็บไซต์ของท่านมีการใส่ข้อมูลที่ดี และเอื้ออำนวยต่อการเข้ามาเก็บข้อมูลของ Search Engine ย่อมส่งผลดีต่อเว็บไซต์ในการติดอันดับผลการค้นหาที่ดีขึ้นได้  ซึ่ง ReadyPlanet จะมีหัวข้อและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการใส่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเอื้อต่อการเก็บข้อมูลของ Google ดังนี้ค่ะ


หลักในการจัดอันดับของ Google และวิธีการระบุคีย์เวิร์ด การจัดอันดับของ Google ใช้หลักการ 2 ประการคือ

     1. ความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้ากับคีย์เวิร์ด

     2.ความสำคัญของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า


ซึ่งในที่นี้จะสรุปเรื่องที่หนึ่ง คือ การสร้างความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์แต่ละหน้ากับคีย์เวิร์ด โดยมีหลักการสำคัญคือ

- ต้องระบุให้ได้ว่าคีย์เวิร์ดสำหรับแต่ละหน้าของเว็บไซต์คือคำว่าอะไร ควรมีคีย์เวิร์ดประมาณ 1-3 คำ

อาจใช้ทั้ง Keyword เดี่ยว และ Keyword ผสม ( Keyword ผสม คือการค้นใน Google ด้วย Keyword หลายคำ เช่น ค้นหาด้วยคำว่า 'โปรแกรมทัวร์ เกาะพีพี' จะทำให้พบข้อมูลได้ตรงจุดมากกว่าค้นหาด้วยคำว่า "โปรแกรมทัวร์" เพียงคำเดียวค่ะ )

- และนำคีย์เวิร์ดดังกล่าวนั้น มาแต่งเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้านั้น ในการแต่งเนื้อหาให้แต่งไปตามปกติ แต่ให้แทรกคีย์เวิร์ดนั้น ๆ อย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป ให้อ่านแล้วเป็นธรรมชาติ แต่งเนื้อหาให้ผู้ชมเว็บไซต์ทั่วไปอ่านได้เข้าใจ สละสลวย

 

นอกจากนั้น ให้บรรจุคีย์เวิร์ดในตำแหน่งต่าง ๆ ของเว็บไซต์ ด้วยการ Log In ใน Member Area ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป VelaClassic และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้


1. ใส่คีย์เวิร์ดสำคัญของเว็บไซต์ใน Title Tag 

Title Tag คือ ข้อความที่แสดงบน Title Bar ของ Web Browser เป็นส่วนแรกที่ Google จะมาเจอในเว็บไซต์ และแสดงในผลการค้นหาบรรทัดแรกของ Google (หากคำค้นหากับเนื้อหาใน Title Tag เกี่ยวข้องกัน) 

จึงควรระบุคีย์เวิร์ดหรือประโยคสรุปที่เข้ากันได้กับหน้าเว็บไซต์นั้น โดยเว้นระหว่างคีย์เวิร์ดแต่ละคำด้วยเว้นวรรค (ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้าเกาหลี ศูนย์รวมเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าขายปลีกขายส่ง) ความยาวไม่ควรเกิน 70 ตัวอักษร

ตัวอย่างการแสดงผล Title Tag บนหน้าเว็บไซต์


วิธีใส่คีย์เวิร์ดใน Title Tag

ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet (VelaClassic) จะปรากฎช่อง Title Tag ในหลายส่วน เช่น เมนูตั้งค่าพื้นฐานเว็บไซต์ / เมนูหลัก,เมนูย่อย ชนิดสร้างหน้าใหม่ (P) / หน้ารวมกลุ่มบทความ/ บทความ / และสินค้าในระบบ VelaCommerce  โดยการใส่คีย์เวิร์ดใน Title Tag ในแต่ละส่วนมีวิธีการดังนี้
 

- เลือกที่หัวข้อจัดการเว็บไซต์ คลิกที่เมนู ตั้งค่าพื้นฐานเว็บไซต์ กรอกคีย์เวิร์ดในช่อง ชื่อเว็บไซต์ (Title Tag) 

 

- สำหรับหน้ารายละเอียดสินค้านั้น Title Tag มักเป็นชื่อสินค้า โดยคลิกเพิ่มสินค้าหรือแก้ไขสินค้า กรอกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในช่อง Title Tag และ Meta Description

 

- หน้าบทความ เมนูหลักและเมนูย่อยชนิดที่มีพื้นที่ให้ใส่เนื้อหา จะมีส่วนสำหรับใส่คีย์เวิร์ดของแต่ละหน้าใน Title Tag ของแต่ละหน้า



 

- ในกรณีที่ไม่ได้กรอกข้อมูลในช่อง Title Tag ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet จะแสดงผลชื่อบทความหรือชื่อเมนูในหน้าดังกล่าวเป็น Title Tag ให้อัตโนมัติ

 

2. ใส่คีย์เวิร์ดใน Header Tag 

การใส่คีย์เวิร์ดใน Header Tag หรือหัวข้อของเนื้อหา สามารถใส่คีย์เวิร์ดได้โดยการทำตัวอักษรเป็นตัวหนา (Bold

- ตัวอย่าง การใส่คีย์เวิร์ดใน Header Tag ที่บทนำ คลิกปุ่มแก้ไข ที่หน้าเว็บไซต์หัวข้อบทนำ



 

- แสดงผลการเน้น Keywords ที่สำคัญด้วยการทำเป็นตัว Bold ( เข้ม) ซึ่งในส่วนของ "หัวข้อบทนำ" ระบบจะแสดงเป็นตัวอักษรหนาให้อัตโนมัติค่ะ

 

3. การใส่คำอธิบายรูปภาพ 

เนื่องจาก Google ไม่สามารถเก็บข้อมูลรูปภาพจากหน้าเว็บไซต์จากการดูว่าภาพ ที่แสดงคือภาพอะไร ดังนั้นจำเป็นจะต้องใช้ Tag พิเศษ เรียกว่า Alternative Text หรือ Alternate tag เพื่อใช้ในอธิบายรูปภาพ โดยเครื่องมือสำหรับใส่ข้อมูลของ ReadyPlanet ชื่อว่า Upload Image ที่ใช้ในการใส่รูปภาพเข้ามาในเนื้อหาบทความ จะมีหัวข้อ Alternative Text รองรับค่ะ  รวมไปถึงเมนูพื้นที่แบนเนอร์  เมนูหลัก , เมนูย่อย ที่ใช้รูปภาพแทนชื่อเมนู ก็สามารถใส่ข้อความ Alternative Text ได้เช่นกัน
 

- ตัวอย่างการใส่ Alternative Text สำหรับรูปสินค้าและรูปภาพในจุดต่าง ๆ ของเว็บไซต์ โดยกรอกคำอธิบายในช่อง Alternative Text ทุกครั้งที่มีการอัพโหลดรูปภาพ

 

- ตัวอย่างการแสดงผล Alternative Text ของรูปภาพ  ช่วย Search Engine ให้รับรู้ความหมายของภาพนั้น ๆ

 

4. Static URL 

เป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้เว็บมาสเตอร์สามารถกำหนดชื่อของ URL หรือที่อยู่ของหน้าเว็บแต่ละหน้าได้ด้วยตนเอง ข้อมูลนี้จะปรากฏอยู่ต่อจากชื่อโดเมนเนม ซึ่งการใช้ URL ที่เข้าใจง่ายจะช่วยในเรื่องการทำเว็บไซต์ให้มีโอกาสติดอันดับที่ดีขึ้นใน Google ตาม keywords ที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  

ตัวอย่างการแสดงผล URL แบบมาตรฐาน

 

 

ตัวอย่างการแสดงผล URL แบบ Static URL



5. Meta Description และ Meta Keyword 

Meta Description Tag จะแสดงในผลการค้นหาบรรทัดที่ 2 และ 3 ของ Google หากคำค้นหากับเนื้อหาใน Meta Description เกี่ยวข้องกัน / แต่หากไม่ใส่ Meta Description แล้ว Google จะหาเนื้อหาจากหน้าเว็บไปแสดงเอง

Meta Keywords Tag บอกให้ทราบว่าเว็บไซต์เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดอะไร แต่ปัจจุบัน Google อ่านเนื้อหาจากหน้าเว็บโดยตรง ไม่ได้เชื่อจากค่านี้
สรุป ทั้งสองอย่าง ไม่มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ Meta Description มีผลต่อการแสดงในผลการค้นหา – ดังนั้น ไม่ต้องใส่ก็ได้
 

ตัวอย่างการแสดงผล Title Tag และ Meta Description ที่ผลการค้นหาบนเว็บไซต์ Google


 

และนอกจากการนำคีย์เวิร์ดเหล่านั้นไปใส่เป็นข้อมูลสินค้าหรือบริการหลักบนหน้าเว็บไซต์แล้ว การเขียนเป็นบทความที่ให้ประโยชน์ สาระความรู้ แนะนำให้กับผู้อ่านตามกลุ่มเป้าหมายด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่เว็บมาสเตอร์ควรปฏิบัติ เพื่อทำให้ลูกค้าหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เกิดติดตามอย่างต่อเนื่องและจดจำเว็บไซต์ของเราได้ และการหมั่นอัพเดทเว็บไซต์ให้มีข้อมูลใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยสนับสนุกการทำ SEO ได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

 

Jittima  Suebsook
www.ReadyPlanet.com




วิธีใส่ข้อมูลและตกแต่งเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet เบื้องต้น

เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป
วิธีใส่รูปภาพในเนื้อหาของเว็บไซต์
วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงก์สำหรับดาวน์โหลด
วิธีสร้างลิงก์ให้กับข้อความและรูปภาพ
การเลือกรูปแบบเว็บไซต์ (Template) และจัดโครงสร้างหน้าแรก (Layout)
เทคนิคการจัดการเมนูหลักที่สวยและดี
จัดการข้อมูลเมนูย่อยด้านข้างอย่างไรดี?
เลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
ข้อควรระวังในการทำเว็บไซต์และวิธีใส่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่ถูกต้องปลอดภัย article
แนะนำการวาง Code Youtube ในเว็บไซต์
วิธีสร้างลิงก์ E-Mail
4 วิธี เคลียร์เนื้อหายาวๆ ในเว็บไซต์ ให้น่าอ่าน
ติดต่อง่าย เก็บได้ข้อมูลดังใจกับ "แบบฟอร์มอิสระติดต่อกลับ"
ไม่พลาดการติดต่อด้วย "แบบฟอร์มมาตรฐาน"
ย่อรูปภาพอย่างง่ายด้วยเครื่องมือ "กำหนดขนาดรูปภาพ"
สร้างลิงก์รูปภาพเล็กไปรูปภาพใหญ่ ด้วยเครื่องมือ Text Editor
สร้างรูปภาพเคลื่อนไหวแบบ Marquee
วิธีสร้างไฟล์ภาพ Favorite Icon เพื่อแสดงผลในช่อง Address Bar
เทคนิคการสร้างลิงค์ ในหน้าเดียวกันด้วยคำสั่ง Anchor
เทคนิคการสร้างลิงก์เมนูและรูปภาพแบนเนอร์ ในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
วิธีติดตั้ง Facebook Page Plugin (Like Box) ในเว็บไซต์
วิธีแสดงผลเครื่องเล่น VDO บนหน้าเว็บไซต์
5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี
5 สิ่งที่ต้องมี บนโฮมเพจเว็บไซต์
แนะนำโปรแกรมตกแต่งและใส่กรอบรูปภาพฟรี! ใช้ง่าย นำไปแต่งเว็บให้โดดเด่นได้เลย
ใช้ระบบ Chat บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยถามตอบทุกข้อสงสัย พร้อมเพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากกว่า
โชว์เส้นทาง สร้างแผนที่บนเว็บไซต์ง่ายๆ ใช้ Google Map
Google Verification (วิธียืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับทาง Google)
วิธีการสร้างและยืนยัน Sitemap ของเว็บไซต์กับ Google
วิธีติดตั้งโค้ด Google Analytics
วิธีติดตั้งเครืองมือแปลภาษา Google Translate บนหน้าเว็บไซต์
ไขข้อข้องใจ "การทำเว็บไซต์ภาษาที่สอง"
สร้างฐานลูกค้าออนไลน์อย่างง่ายแต่มั่นคง ด้วยระบบสมาชิก
เทคนิคสร้างลิงค์และปุ่มโทรบนเว็บไซต์ เพื่อการติดต่อที่ง่าย แค่คลิก แล้วโทร
วิธีเพิ่มลิงก์ Add LINE และปุ่ม LINE it! บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยผู้ชมแชทง่าย แชร์ข้อมูลได้สะดวก