การเพิ่มบทความ เป็นการเพิ่มเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เข้าไปในกลุ่มบทความแต่ละกลุ่มตามที่ได้สร้างไว้ โดยเว็บมาสเตอร์สามารถเพิ่มบทความได้ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเพิ่มและแก้ไขบทความ มีขั้นตอนดังนี้
1. ที่เมนู "ระบบพื้นฐาน " คลิกเลือก "จัดการกลุ่มบทความ/บทความ"
2. ที่แท็บจัดการกลุ่มบทความ คลิกปุ่ม (เพิ่มบทความใหม่) ที่อยู่ทางขวาในกลุ่มบทความที่ต้องการ หรือคลิก (แก้ไขบทความ) ที่ด้านขวาของบทความที่เคยสร้างไว้แล้ว เพื่อแก้ไขรายละเอียดใหม่ได้ค่ะ
3.จากนั้นจะเข้าสู่หน้า เพิ่มหรือแก้ไขบทความ ซึ่งจะมีรายละเอียดย่อยให้คุณกรอกรายละเอียด ได้แก่
3.1 แท็บเพิ่ม/แก้ไขบทความ ประกอบด้วยหัวข้อ
- กลุ่มบทความ เป็นตัวแสดงว่าบทความนี้อยู่ในกลุ่มบทความใด และสามารถย้ายกลุ่มบทความได้ เพียงคลิก Drop Down และเลือกกลุ่มบทความปลายทางอื่น ๆ ที่ได้สร้างไว้แล้วได้
- ชื่อบทความ พิมพ์ชื่อบทความมตามหัวข้อที่ต้องการ (ระบบบังคับให้กรอกข้อมูลเฉพาะหัวข้อนี้หัวข้อเดียวได้ค่ะ)
- Title Tag คือ ข้อความที่แสดงบน Title Bar ของบราวเซอร์ เป็นข้อความสำหรับบอกให้ทราบว่าหน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่นั้นมีหัวข้อเกี่ยวกับอะไร ข้อความใน Title Tag ควรมีความยาว 60-70 ตัวอักษร และควรหลีกเลี่ยงอักขระพิเศษต่าง ๆ (หากไม่ได้กรอก ระบบจะแสดงผลชื่อบทความให้แทนอัตโนมัติ)
- Meta Description ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดโดยย่อของหน้าเว็บไซต์ที่แสดงผลอยู่ ซึ่งข้อความไม่ควรสั้น หรือ ยาวจนเกินไป และควรสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน้านั้น ๆ ความยาวของคำอธิบายไม่ควรเกิน 200 อักษร
- Meta Keyword คือ คำค้นที่ใช้ระบุสำหรับการค้นหาผ่าน Search Engine โดยคำค้นที่กำหนดควรสอดคล้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ คำค้นแต่ละคำจะต้องคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)(comma) โดยความยาวที่ระบบรองรับจะต้องไม่เกิน 255 อักษร
- ชื่อ Folder (Static URL): เป็นการตั้งชื่อ URL ให้กับบทความตามต้องการ แทนการแสดง url เป็นรหัสที่กำหนดอัตโนมัติด้วยเว็บไซต์ (โดยต้องตั้งชื่อ Folder Static URL ที่กลุ่มบทความก่อน
เช่น ข่าวฉลองครบรอบการเปิดร้าน 1 ปี ถ้าตั้ง Static URL ให้กับบทความนี้ว่า "happy-1st-anniversary" (ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มบทความข่าว "News") เมื่อเข้าสู่หน้าบทความนี้ URL จะแสดงผลเป็น www.domainname.com/news/happy-1st-anniversary เป็นต้น
3.2 แท็บรูปภาพ ประกอบด้วย
- รูปแสดงหน้าแรก จะแสดงรูปเมื่อบทความนี้ถูกเรียกขึ้นโชว์ในหน้าแรกของเว็บไซต์ หรือหน้ารวมกลุ่มบทความ (ที่ตั้งค่าให้แสดงรูปภาพ) โดยคลิกที่ปุ่ม Choose File เพื่อใส่รูป (นามสกุลที่ระบบรองรับ .gif, .jpg, .jpeg, .png ขนาดไม่เกิน 500 KB)
และหากการอัพโหลดรูปภาพแสดงหน้าแรกแล้ว ภายหลังมีการคลิกเลือกหัวข้อ "ไม่แสดงรูปหน้าแรก (แสดงเป็นรูปใสแทน)" รูปแสดงหน้าแรกจะถูกลบออกจากระบบโดยอัตโนมัติค่ะ
- Alternate Text รูปแสดงหน้าแรก สามารถใส่คำอธิบายรูปแสดงหน้าแรก เพื่อให้ Search Engine สามารถเข้ามาเก็บเนื้อหาของรูปภาพนั้นๆ ได้
3.3 แท็บ เนื้อหาแสดงหน้าแรก ส่วนนี้สามารถใส่ข้อความ เพื่อเป็นการเกริ่นนำรายละเอียดเกี่ยวกับบทความเรื่องนี้ให้ทราบโดยคร่าว ๆ โดยจะแสดงเมื่อบทความนั้นถูกเรียกขึ้นแสดงหน้าแรกของเว็บไซต์ หรือในหน้ารวมกลุ่มบทความ กรณีเลือกแสดงเนื้อหาโดยย่อค่ะ
3.4 แท็บเนื้อหาของบทความ ประกอบด้วย
- ตำแหน่งหมายเลข 1 ตัวเลือก สามารถเลือกการแสดงผลเนื้อหาของบทความนี้ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
- ต้องการใส่เนื้อหาของบทความ : จะปรากฎพื้นที่ให้ใส่รายละเอียดเนื้อหาบทความได้ตามปกติ
- ไม่ต้องการแสดงเนื้อหา : หากแสดงผลบทความนี้ที่หน้าแรกหรือหน้ารวมกลุ่มบทความ จะไม่สามารถคลิกลิงก์เพื่ออ่านเนื้อหาต่อได้
- ลิงก์ไปยัง URL ที่กำหนด : สามารถวาง URL หน้าเว็บไซต์ปลายทาง เพื่อให้คลิกบทความนี้แล้วไปแสดงเนื้อหาที่หน้าเว็บไซต์ปลายทางได้
- ตำแหน่งหมายเลข 2 เนื้อหาของบทความ เป็นส่วนที่รองรับการใส่ข้อมูลเป็นข้อความและรูปภาพ ได้โดยใช้เครื่องมือ Text Editor ต่างๆ
- ตำแหน่งหมายเลข 3 อนุญาตให้กรอกข้อมูลเป็นค่าว่าง : หากคุณเคยใส่ข้อมูลในช่องรายละเอียดกลุ่มบทความ และต้องการลบข้อมูลออกทั้งหมด ไม่ให้แสดงเนื้อหาใด ๆ ให้คลิกทำเครื่องหมายกาถูกที่หัวข้อนี้ ก่อนกด "ตกลง" เพื่อบันทึกด้วยค่ะ (หากไม่คลิกเลือก ระบบจะไม่บันทึกพื้นที่เนื้อหาที่ว่างให้ เนื่องจากป้องกันกรณีที่คุณอาจเผลอลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ค่ะ)
- ตำแหน่งหมายเลข 4 เลือกสัญลักษณ์ เป็นส่วนของการใส่สัญลักษณ์เพื่อเน้นหรือให้ผู้อื่นสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งจะแสดงผลตำแหน่งหลังชื่อบทความค่ะ
- ตำแหน่งหมายเลข 5 กำหนดวันเวลาแสดงบทความ/บล็อก สามารถตั้งค่าให้บทความแสดงผลตามวันเวลาที่ต้องการ (บทความจะไม่แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาที่ตั้งไว้)
- ตำแหน่งหมายเลข 6 กำหนดวันเวลาปิดแสดงบทความ/บล็อก สามารถตั้งค่าให้บทความปิดการแสดงผลอัตโนมัติตามวันเวลาที่ต้องการ
- ตำแหน่งหมายเลข 7 แบบฟอร์มติดต่อหน้าเว็บไซต์ เป็นส่วนของการแสดงหน้าต่างของเว็บไซต์ที่เพิ่มเข้าไปใหม่ เป็นแบบฟอร์มติดต่อกลับที่ด้านล่างของบทความเพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดยระบบจะมีตัวเลือกให้ใช้งาน ได้แก่
- ไม่ต้องการแสดงฟอร์มติดต่อในหน้าเว็บไซต์
- เลือก หากต้องการให้แสดงฟอร์มติดต่อมาตรฐานในหน้าเว็บไซต์ (ตัวอย่างฟอร์มมาตรฐาน)
- เลือก หากต้องการสร้างฟอร์มอิสระติดต่อใหม่ในหน้าเว็บไซต์ (ตัวอย่างฟอร์มอิสระ)
- ตำแหน่งหมายเลข 8 แสดงความคิดเห็นต่อบทความ (Article Comment) คือ การที่ผู้เข้าชมเว็บ หรือสมาชิกของเว็บไซต์สามารถแสดงทัศนคติ ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีต่อข่าว สินค้า คือข้อเขียนบทความที่อยู่บนเว็บไซต์ โดยจะแตกต่างจากเว็บบอร์ดตรงที่ในส่วนของเว็บบอร์ด สมาชิกหรือผู้เข้าชมเว็บสามารถเป็นผู้ตั้งคำถาม หรือตั้งหัวข้อในการสนทนา แต่ในส่วนการแสดงความคิดเห็นภายในบทความ เว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลระบบเท่านั้นจะเป็นผู้กำหนดเนื้อหา ทำให้สามารถควบคุมหัวข้อเรื่องที่สนทนาได้ โดยระบบจะมีตัวเลือกให้ใช้งาน
- ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้
- ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้
- สมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้
- ตำแหน่งหมายเลข 9 ลำดับ เป็นการจัดลำดับให้กับการจัดเรียงบทความ (โดยเรียงลำดับมากไปหาลำดับน้อย เช่น 999,998,997 เป็นต้น)
- ตำแหน่งหมายเลข 10 กำหนดสิทธิการเข้าถึงบทความ เป็นการกำหนดสิทธิในการเข้าชมบทความต่างๆที่หน้าเว็บไซต์ โดยระบบจะมีตัวเลือกให้ใช้งาน
- ไม่จำกัดสิทธิ ทุกคนสามารถเข้าถึง
- แสดงเฉพาะผู้เป็นสมาชิกเว็บไซต์ทั้งหมดเท่านั้น
- แสดงเฉพาะกลุ่มสมาชิกเว็บไซต์เท่านั้น
- ตำแหน่งหมายเลข 11 การแสดงบทความ เพื่อใช้สำหรับเวลาที่ต้องการซ่อน หรือแสดงบทความที่ต้องการ (จากเดิมต้องทำการย้ายบทความนั้นไปอยู่ในส่วนของ Special Column จึงจะสามารถซ่อนได้)
- ตำแหน่งหมายเลข 12 คลิกปุ่ม ตกลง เพื่อทำการบันทึก
แสดงผลบทความที่หน้าแรกของเว็บไซต์ (แสดงชื่อบทความ รูปแสดงหน้าแรก และเนื้อหาแสดงหน้าแรก)
แสดงผลเนื้อหาของบทความ (แสดงผลหลังจากคลิกที่ลิงค์อ่านต่อ , ชื่อบทความ, หรือรูปแสดงหน้าแรก)
เทคนิคเพิ่มเติม
ดูรายละเอียดวิธีการใช้งานเครื่องมือ Text Editor (เครื่องมือแก้ไข ตกแต่งข้อมูล)
วิธีการเพิ่มข้อความ Alternate Text ของรูปแสดงหน้าแรกของกลุ่มบทความ และ บทความ
วิธีใส่ค่า Static URL ที่กลุ่มบทความและบทความ
เทคนิคการสร้างลิงค์จากบทความไปยังอัลบั้มรูป
เทคนิคการปรับระยะห่างระหว่างลิงค์เนื้อหาบทความกับเนื้อหาแสดงหน้าแรก
วิธีการสร้างฟอร์มแสดงความคิดเห็นในหน้าบทความ
วิธีลบความคิดเห็นในบทความ
เทคนิคการสร้างลิงค์จากข้อความไปยังบทความที่อยู่ใน Special Column
วิธีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงกลุ่มบทความ/บทความ/เมนูหลัก/เมนูย่อย/กลุ่มเว็บบอร์ด/อัลบั้มรูป ที่ระบบสมาชิก
เทคนิคการย้ายบทความไปยังเมนูย่อย
เทคนิคการเพิ่มสีสันให้กับบทความด้วยเครื่องมือ Insert Special Characters
เทคนิคการย้ายบทความภายในกลุ่มบทความ
เทคนิคการใส่เนื้อหาบทความโดยลิงค์ไปยัง URL ที่กำหนด
การหาตำแหน่งของบทความ