ReadyPlanet.com
dot

dot
เลือกเวอร์ชั่น Text Editor
Editor Manual
แนะนำวิธีทำเว็บไซต์เบื้องต้น
Function Update
dot
dot
เว็บไซต์รูปแบบ Responsive web design
จัดการเมนูหลัก
เมนูโค้ดและสคริปต์ภายใต้ <head>
ประวัติการใช้งานระบบ
ตัวนับผู้ชมเว็บ
Google Service/Sitemap
จัดการอีเมลสมัครรับข่าวสาร
dot
dot
ระบบผู้ช่วย
ระบบ Chat
dot
dot
การตั้งอีเมล Pop Mail
dot
dot
bulletจัดการเว็บไซต์
bulletระบบพื้นฐาน
bulletระบบเสริม
bulletบริการสมาชิก
bulletเทคนิคอื่นๆ
bulletText Editor
dot
dot
bulletจัดการแบบฟอร์มติดต่อกลับ


จัดการข้อมูลเมนูย่อยด้านข้างอย่างไรดี?


เมนูย่อย คือ เมนูซึ่งแสดงผลด้านข้างของส่วนแสดงเนื้อหาเว็บไซต์  ช่วยแสดงผลหมวดหมู่สินค้า/บริการหลักของเว็บไซต์หรือกลุ่มบทความต่าง ๆ ให้เห็นเด่นชัด  หาง่าย  ด้วยรูปแบบการแสดงผลข้อมูลที่เรียงลงมาในแนวตั้ง ทำให้สามารถแสดงผลเมนูได้ค่อนข้างมาก 

อีกทั้งแถบเมนูย่อยยังมีการแสดงผลรวมไปถึง พื้นที่แบนเนอร์ คือ เมนูสำหรับแสดงรูปภาพ นิยมใช้ในการผูกลิงก์ไปยังเว็บไซต์พันธมิตรอื่นๆ สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย  

 

ตัวอย่างการแสดงผลตำแหน่งของเมนูย่อย

 

แต่ทั้งนี้เมนูย่อยด้านข้างจะแสดงผลหรือไม่ หรือถ้าแสดงผลจะอยู่ในตำแหน่งใดบนหน้าเว็บไซต์ เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ Template ที่คุณเลือกใช้งานนั่นเองค่ะ และมีบางเทมเพลตที่ไม่แสดงเมนูย่อย  เช่น เทมเพลต ID : 180  และ  ID : 181  เป็นต้น
 

ตัวอย่างเทมเพลต
ที่มีเมนูย่อยแสดงผลด้านซ้าย

 

ตัวอย่างเทมเพลต
ที่มีเมนูย่อยแสดงผลด้านขวา

 

ตัวอย่างเทมเพลตที่มีไม่มีเมนูย่อย

 

และสำหรับ Template เว็บไซต์แบบ Responsive จะแสดงผลเมนูย่อยอยู่ด้านซ้ายของเนื้อหาเว็บไซต์เสมอ แต่หากไม่ต้องการให้มีแถบเมนูย่อยบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้มีพื้นที่แสดงผลเนื้อหาหลักเพิ่มมากขึ้น สามารถปิดการแสดงผลเมนูย่อยได้ (ดูรายละเอียดการใช้งานเพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ)

ตัวอย่างการแสดงผลหน้าเว็บไซต์แบบ Responsive บนคอมพิวเตอร์ แบบไม่มีเมนูย่อยด้านข้าง

 

ประโยชน์ของเมนูย่อย

- สามารถสร้างลิงก์เพื่อแสดงผลเมนูที่สำคัญ หรือหมวดหมู่สินค้าที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น

- สามารถสร้างลิงก์ในรูปแบบ Pulldown และ Multi Pulldown เพื่อแสดงผลหมวดหมู่ข้อมูลย่อยได้

- สามารถใส่โค้ดตกแต่งเว็บไซต์ หรือแสดงแบนเนอร์ด้านข้างเพื่อโฆษณาหรือแลกลิงก์กับเว็บไซต์เพื่อนบ้านได้
 

เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับแสดงผลที่ตำแหน่งเมนูย่อย

นิยมแสดงผลหมวดหมู่ของสินค้าหรือกลุ่มบทความ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์ในส่วนเมนูย่อย เพราะสามารถแสดงผลข้อมูลหลาย ๆ เมนูได้ และยังทำให้การแสดงผลดูง่าย สบายตา

ตัวอย่างเช่น  เว็บไซต์ขายขนมเค้กประเภทต่าง ๆ ควรจะแสดงผลกลุ่มสินค้าจากระบบร้านค้าออนไลน์ VelaCommerce เป็นหลัก  และกลุ่มข้อมูลที่มีความสำคัญรองลงมา คือ กลุ่มบทความข่าวประชาสัมพันธ์ หรือกลุ่มสาระความรู้  แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความเหมาะสมในการแสดงผลไม่ให้เมนูย่อยมีจำนวนมากหรือน้อยเกินไปด้วย เป็นต้น
 

ตัวอย่างการแสดงผลหมวดหมู่สินค้าจากระบบร้านค้าออนไลน์ Vela Commerce ที่เมนูย่อย

 

 

นอกจากนี้ บริเวณเมนูย่อยด้านข้าง ยังมีเมนู "พื้นที่แบนเนอร์" ซึ่งแสดงผลต่อจากส่วนของเมนูย่อย  เหมาะสมต่อการสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์เพื่อนบ้านหรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งแบนเนอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย

 

 การแสดงผลของเมนูย่อยที่ดี ควรคำนึงถึง

1. จำนวนของเมนูและข้อมูล ที่จะแสดงผลที่เมนูย่อย

นอกจากการเน้นความสำคัญในการเลือกกลุ่มสินค้าและบริการมาแสดงผลที่เมนูย่อย เว็บมาสเตอร์ควรดูถึงความเหมาะสมของจำนวนของเมนู และสิ่งที่นำมาตกแต่งที่เมนูย่อย แม้ว่าเมนูย่อยจะสามารถแสดงเมนูลงมาได้หลายสิบเมนู แต่ถ้าหากมีเมนูหรือแบนเนอร์จำนวนมากเกินไป อาจส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ยาวลงมามาก ไม่สะดวกในการดูข้อมูลได้

นอกจากนี้อาจทำให้การแสดงผลดูไม่สวยงามในบางหน้าที่มีเนื้อหาน้อยค่ะ ดังภาพตัวอย่าง 

 

2. รูปแบบการเปิดหน้าต่าง เมื่อคลิกลิงก์เมนูย่อย

ในการสร้างเมนูย่อยแต่ละเมนู จะมีตัวเลือกสำหรับตั้งค่าการเปิดหน้าต่างของเว็บไซต์ เมื่อคลิกลิงก์เมนูย่อย ให้ "เปิดหน้าต่างใหม่" หรือ "เปิดทับหน้าต่างเดิม" โดยมีหลักการตั้งค่าการเปิดหน้าต่างให้เหมาะสมกับเมนูแต่ละประเภท ดังนี้ค่ะ

  • เลือก เปิดทับหน้าต่างเดิม จะมีรูปแบบการแสดงผล คือ เมื่อคลิกที่เมนูแล้ว จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์หน้าใหม่ทับแทนที่หน้าเว็บไซต์ที่เปิดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ลิงก์เมนูนั้นยังคงเป็นเนื้อหาที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา ถือเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการเชื่อมโยงลิงก์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกันค่ะ
      
  • เลือก เปิดหน้าต่างใหม่ จะมีรูปแบบการแสดงผล คือ เมื่อคลิกที่เมนูย่อยแล้ว จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ที่คลิกลิงก์ขึ้นมาใหม่ โดยที่หน้าเว็บไซต์เดิมยังแสดงผลอยู่ มักจะใช้ในกรณีที่ลิงก์ไปเว็บไซต์ภายนอก หรือ URL อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเราแล้ว ดังภาพตัวอย่างค่ะ
     

ตัวอย่างแสดงผลเมื่อคลิกลิงก์  แล้วหน้าเว็บไซต์ปลายทางมีการเปิดหน้าต่างใหม่

 

ซึ่งการตั้งค่าเมนูย่อยให้คลิกแล้วเปิดหน้าต่างใหม่หรือเปิดทับต่างเดิม แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ โดยเฉพาะการตั้งค่าให้เปิดหน้าต่างใหม่จำนวนมาก ๆ แม้จะช่วยให้หน้าเว็บที่ผู้ชมเปิดดูก่อนหน้ายังคงอยู่ แต่อาจไม่สะดวกสำหรับผู้ชมที่เปิดชมเว็บไซต์ของคุณผ่านอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เช่น โทรศัพท์มือถือ Smart Phone หรือ Tablets เพราะต้องคอยสลับ Windows กลับไปมา เป็นต้นค่ะ

 

3. การใส่รูปภาพตกแต่งเมนูย่อย ในขนาดที่เหมาะสม

ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet มีฟังก์ชันการแสดงผลรูปภาพแทนชื่อเมนูย่อยได้ และพื้นที่สำหรับใส่แบนเนอร์โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ทำให้เว็บไซต์มีความสวยงามและดึงดูดสายตาได้มากขึ้น
 
แต่หากรูปภาพที่นำมาใส่มีขนาดกว้างเกินไป หรือขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้เกิดปัญหา เช่น ส่วนเนื้อหาเว็บไซต์จะขยายกว้างออกด้านข้างเกินกว่าภาพส่วนหัว ทำให้หน้าเว็บไซต์ไม่สมส่วน ดูไม่สวยงาม จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและสมดุลในการใช้รูปภาพแทนบริเวณเมนูย่อยด้วยค่ะ
 
ขนาดภาพแทนชื่อเมนูย่อยที่เหมาะสม ควรมีความกว้าง (Width) ไม่เกิน 200 pixels เป็นไฟล์ภาพนามสกุล .jpg/ .gif/ .png และเพื่อให้แสดงผลได้สวยงามที่สุด รูปแบนเนอร์ควรมีขนาด เช่น
 
- 120 x 60 pixels
- 120 x 120 pixels
- 120 x 180 pixels
- 120 x 240 pixels 

ตัวอย่างการแสดงผลการใส่รูปภาพแทนชื่อเมนูย่อย "ค้นหาสินค้า" ด้วยภาพที่มีความกว้างเกิน 200 pixels
ส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ส่วนเนื้อหาขยายกว้างเกินภาพส่วนหัว

 

4. ระมัดระวังการนำโค้ดพิเศษมาตกแต่งในส่วน Widget หรือพื้นที่แบนเนอร์ด้านข้าง

ทุกวันนี้ มีโค้ดลูกเล่นมากมายที่จะช่วยตกแต่งเว็บไซต์ให้ดูสวยงามน่าสนใจได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็น โค้ดจาก Social Media เช่น Like Box ที่จะเป็นอีกช่องทางในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าบนโลกออนไลน์ หรือโค้ดที่คุ้นชินตาหลาย ๆ ท่าน อย่าง โค้ดพยากรณ์อากาศ ,โค้ดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ฯลฯ ซึ่งเว็บมาสเตอร์สามารถสรรหามาติดตั้งบนเว็บไซต์บริเวณ Widget หรือ พื้นที่แบนเนอร์ด้านข้าง ได้อย่างง่ายดาย

แต่อย่าติดตั้งโค้ดกันเพลินจนลืมคำนึงถึง ความจำเป็นในการใช้งานกับเว็บไซต์ของเรา ความเหมาะสมในการแสดงผล และความสะดวกของผู้เข้าชม เป็นหลักนะคะ เพราะมีผลทั้งต่อความสวยงาม ความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเสถียรภาพของเว็บไซต์ของคุณด้วยค่ะ  เนื่องจากการเปิดหน้าเว็บไซต์จะขึ้นอยู่กับความเร็วและเสถียรภาพของระบบของเว็บไซต์ที่คุณนำ code มาติดตั้งด้วย เช่น หาก server ของ code ที่นำมาติดล่ม หรือโหลดช้า จะทำให้เว็บของคุณเปิดไม่ได้หรือโหลดช้าไปด้วยค่ะ

 

ทบทวนกันอีกครั้งนะคะว่า การตกแต่งเมนูย่อยด้านข้างควรคำนึงถึง จำนวนของเมนูและข้อมูล, รูปแบบการเปิดหน้าต่าง, การใส่รูปภาพ และโค้ดตกแต่งเมนูย่อย ซึ่งหากเลือกใช้อย่างเหมาะสม ในระดับที่พอดีๆ ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป เว็บไซต์ของทุกคุณก็จะสวย อ่านง่าย สบายตา ผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ก็อยากจะคลิกชมสินค้าและข้อมูลบนเว็บไซต์นานๆ อย่างแน่นอนค่ะ

  

 

Jittima  Suebsook
www.ReadyPlanet.com




วิธีใส่ข้อมูลและตกแต่งเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet เบื้องต้น

เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป
วิธีใส่รูปภาพในเนื้อหาของเว็บไซต์
วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงก์สำหรับดาวน์โหลด
วิธีสร้างลิงก์ให้กับข้อความและรูปภาพ
การเลือกรูปแบบเว็บไซต์ (Template) และจัดโครงสร้างหน้าแรก (Layout)
เทคนิคการจัดการเมนูหลักที่สวยและดี
เลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
ข้อควรระวังในการทำเว็บไซต์และวิธีใส่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่ถูกต้องปลอดภัย article
แนะนำการวาง Code Youtube ในเว็บไซต์
วิธีสร้างลิงก์ E-Mail
4 วิธี เคลียร์เนื้อหายาวๆ ในเว็บไซต์ ให้น่าอ่าน
ติดต่อง่าย เก็บได้ข้อมูลดังใจกับ "แบบฟอร์มอิสระติดต่อกลับ"
ไม่พลาดการติดต่อด้วย "แบบฟอร์มมาตรฐาน"
ย่อรูปภาพอย่างง่ายด้วยเครื่องมือ "กำหนดขนาดรูปภาพ"
สร้างลิงก์รูปภาพเล็กไปรูปภาพใหญ่ ด้วยเครื่องมือ Text Editor
สร้างรูปภาพเคลื่อนไหวแบบ Marquee
วิธีสร้างไฟล์ภาพ Favorite Icon เพื่อแสดงผลในช่อง Address Bar
เทคนิคการสร้างลิงค์ ในหน้าเดียวกันด้วยคำสั่ง Anchor
เทคนิคการสร้างลิงก์เมนูและรูปภาพแบนเนอร์ ในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
วิธีใส่คีย์เวิร์ดในเว็บไซต์เพื่อให้ Google จัดเว็บไซต์ในอันดับที่ดี
วิธีติดตั้ง Facebook Page Plugin (Like Box) ในเว็บไซต์
วิธีแสดงผลเครื่องเล่น VDO บนหน้าเว็บไซต์
5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี
5 สิ่งที่ต้องมี บนโฮมเพจเว็บไซต์
แนะนำโปรแกรมตกแต่งและใส่กรอบรูปภาพฟรี! ใช้ง่าย นำไปแต่งเว็บให้โดดเด่นได้เลย
ใช้ระบบ Chat บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยถามตอบทุกข้อสงสัย พร้อมเพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากกว่า
โชว์เส้นทาง สร้างแผนที่บนเว็บไซต์ง่ายๆ ใช้ Google Map
Google Verification (วิธียืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับทาง Google)
วิธีการสร้างและยืนยัน Sitemap ของเว็บไซต์กับ Google
วิธีติดตั้งโค้ด Google Analytics
วิธีติดตั้งเครืองมือแปลภาษา Google Translate บนหน้าเว็บไซต์
ไขข้อข้องใจ "การทำเว็บไซต์ภาษาที่สอง"
สร้างฐานลูกค้าออนไลน์อย่างง่ายแต่มั่นคง ด้วยระบบสมาชิก
เทคนิคสร้างลิงค์และปุ่มโทรบนเว็บไซต์ เพื่อการติดต่อที่ง่าย แค่คลิก แล้วโทร
วิธีเพิ่มลิงก์ Add LINE และปุ่ม LINE it! บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยผู้ชมแชทง่าย แชร์ข้อมูลได้สะดวก