ReadyPlanet.com
dot

dot
เลือกเวอร์ชั่น Text Editor
Editor Manual
แนะนำวิธีทำเว็บไซต์เบื้องต้น
Function Update
dot
dot
เว็บไซต์รูปแบบ Responsive web design
จัดการเมนูหลัก
เมนูโค้ดและสคริปต์ภายใต้ <head>
ประวัติการใช้งานระบบ
ตัวนับผู้ชมเว็บ
Google Service/Sitemap
จัดการอีเมลสมัครรับข่าวสาร
dot
dot
ระบบผู้ช่วย
ระบบ Chat
dot
dot
การตั้งอีเมล Pop Mail
dot
dot
bulletจัดการเว็บไซต์
bulletระบบพื้นฐาน
bulletระบบเสริม
bulletบริการสมาชิก
bulletเทคนิคอื่นๆ
bulletText Editor
dot
dot
bulletจัดการแบบฟอร์มติดต่อกลับ


5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

เพราะ เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ นอกจากความสวยงามที่ต้องคำนึงถึงแล้ว ยังมีองค์ประกอบในการทำเว็บไซต์ที่ดี ที่ท่านเจ้าของเว็บไซต์ควรทราบ เพราะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ของทุกท่านให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกหลายอย่าง แต่เว็บมาสเตอร์ต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง ติดตามคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ

 

5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

1. Accessibility : ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

2. Speed : ความเร็วในการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์

3. Attractiveness : เว็บไซต์ต้องน่าสนใจ ดึงดูดสายตา

4. Simplicity : ความง่ายในการใช้งาน

5. Credibility : ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์

 

 1. Accessibility : ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล


หนึ่งในองค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี คือ ต้องสามารถนำเสนอข้อมูลแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อย่างครบถ้วน ไม่มีปัญหาเรื่องของการแสดงหน้าเว็บไซต์  ผู้เข้าชมต้องได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ ดังต่อไปนี้

 

ขนาดของหน้าจอ

คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จะมีความละเอียดของหน้าจอสูงขึ้น รวมถึง “พฤติกรรม” ของผู้บริโภคที่ “เปลี่ยนไป” ด้วยการบริโภคข่าวสารแบบ Real Time ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ทั้ง Tablet และ Smartphone จนกลายเป็น Multi-Screen Trend ดังนั้น เว็บไซต์ที่ดีต้องสามารถแสดงผลได้พอดีกับทุกหน้าขนาดของหน้าจอและอุปกรณ์หลากหลายประเภทด้วย

 

Web Browser

Web Browser หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Google Chrome, Mozilla Firefox, Internet Explorer, Safari เป็นต้น โดยเว็บไซต์ต้องสามารถแสดงผลบนทุก Browser ได้อย่างถูกต้อง เพราะหากเข้าไม่ได้ในบาง Browser นั่นหมายถึง คุณอาจจะสูญเสีย Traffic จากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เข้ามาแล้วไม่สามารถอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ได้

 

การ Tag รูปภาพ

ควรตั้งชื่อให้กับรูปภาพประกอบเว็บไซต์ทุกครั้ง (Alternative Text) เพราะหากไม่ตั้งชื่อรูปภาพ Search Engine ก็จะไม่ทราบว่ารูปภาพนั้นเป็นรูปภาพอะไร ทำให้ไม่สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลได้

และสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้โปรแกรมอ่านหน้าเว็บไซต์ด้วยแล้ว Alternative Text นี้จะถูกแปลงเป็นเสียงอ่านเพื่อสื่อสารให้ผู้ที่ตาบอดรับรู้ได้อีกด้วย

 

Font ตัวอักษร

ควรใช้ Font หรือตัวอักษรแบบมาตรฐาน เช่น Arial, Verdana, Times New Roman, Tahoma เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการใช้ Font ตัวอักษรพิเศษ เพราะหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่มี Font พิเศษติดตั้งไว้ ก็จะทำให้การแสดงผลผิดไปจากปกติหรืออ่านข้อมูลไม่ได้

  

การใช้สี

ระมัดระวังเรื่องการเลือกใช้สีตัวอักษรและสีพื้นหลังที่ใกล้เคียงกันเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สีเพียงอย่างเดียวเพื่อสื่อความหมายหรือไฮไลท์ข้อมูลสำคัญ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้เข้าชมที่ตาบอดสี โดยควรใช้สัญลักษณ์ร่วมกับการใช้สี เช่น เครื่องหมาย * สำหรับช่องที่ต้องกรอกข้อมูล เป็นต้น

 

  

2. Speed ความเร็วในการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์


ในการเปิดเว็บไซต์แต่ละหน้า เว็บไซต์ที่ดีไม่ควรมีองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เข้าชมเว็บใช้เวลาในการโหลดนานเกินไป เพราะธรรมชาติของผู้เข้าชมเว็บไซต์อย่างหนึ่ง คือ ผู้ชมจะไม่มีความอดทนสูงมากนักในการค้นหาข้อมูลทาง Internet (อ่านเพิ่มเติมได้ใน รู้จักธรรมชาติของผู้เข้าชมเว็บไซต์/ลูกค้า Online ให้ดี..มีชัยไปกว่าครึ่ง นะคะ)

ถ้าการเข้าถึงเว็บไซต์ทำให้เขาต้องเสียเวลามากเกินไป ผู้ชมท่านนั้นก็อาจจะออกจากเว็บไปทันที! รีบป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ รีบปรับปรุงเว็บไซต์ให้แสดงผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ตามวิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ


เลือกใช้ภาพขนาดไม่ใหญ่

ระมัดระวังเรื่องขนาดของรูปภาพและไฟล์ (มีผลต่อความเร็ว) หากภาพหรือไฟล์บนเว็บไซต์นั้นมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้าลงการใส่ภาพลงบนเว็บไซต์

ควรจะเลือกวิธี “Save for Web” และบันทึกภาพให้มีนามสกุล .JPG หรือ .GIF 

 

ตั้งค่าไม่ให้ Video เล่นอัตโนมัติ 

ในการใส่ไฟล์จำพวก Video และ Audio (ภาพและเสียง) อย่าให้ไฟล์เหล่านี้เล่นอัตโนมัติโดยทันที แต่ให้มีปุ่ม “play” เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือกเล่นไฟล์นั้นได้ด้วยตัวเอง

 

ใช้บริการ Web Hosting ที่เร็ว

ในกรณีที่เลือกใช้บริการ Web Hosting ควรเลือก Server หรือ Web Hosting ที่เร็วและมี Bandwidth มากพอ

(Bandwidth คือ ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต)

 

ระวังการใช้ Code ตกแต่งจากเว็บไซต์อื่น

การใส่ Code Banner, Counter หรือ การเขียน Code มาใส่บนเว็บไซต์นั้น ควรระวังเรื่องความเร็วและเสถียรภาพของระบบของ Server ของผู้ให้บริการ code ที่คุณนำมาติดตั้งด้วย

เช่น หาก server ของ code ที่นำมาติดล่มหรือโหลดช้า จะทำให้เว็บของคุณเปิดไม่ได้หรือโหลดช้าไปด้วย เป็นต้น

 

ตรวจสอบการแสดงผลภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash

การใช้ Flash Animation หรือ Code ภาพเคลื่อนไหวต่างก็มีผลทำให้ใช้เวลาโหลดนานและอาจไม่สามารถแสดงผลในอุปกรณ์บางประเภท

จึงควรจะทดสอบความเร็วของการแสดงผลของส่วนประกอบต่างๆ ก่อน รวมถึง preview ตรวจสอบการแสดงผลของเว็บไซต์ก่อนเสมอ ก่อนที่จะโปรโมทเว็บไซต์ของคุณออกไป

 

จะเห็นได้ว่าข้อมูลองค์ประกอบเว็บไซต์ทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นตัวช่วยที่ทำให้เว็บของเรามีความสวยงาม ดึงดูดสายตา และสร้างความน่าสนใจแก่ผู้ชม แต่ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลกระทบหลักต่อการโหลดข้อมูลบนเว็บไซต์ด้วยนะคะ

ดังนั้น หลังจากใส่ข้อมูลบนเว็บแล้ว อย่าลืมตรวจสอบการแสดงผลบนข้อมูลเว็บไซต์จริงทุกครั้ง ว่าแสดงผลช้าหรือเร็วเพียงใด ที่สำคัญเลือกใช้แต่พอดีนะคะ แล้วเว็บไซต์ของคุณก็จะเป็นเว็บที่สวยและดีอย่างแน่นอนค่ะ

 

3. Attractiveness เว็บไซต์ต้องน่าสนใจ ดึงดูดสายตา


เว็บไซต์ที่น่าสนใจและดึงดูด ต้องสามารถทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หยุดอยู่ที่เว็บไซต์ของคุณได้ทันทีเมื่อเข้ามาครั้งแรก โดยต้องคำนึงถึงวิธีการตาม หลักการ AIDA ดังต่อไปนี้

 

"Attention" ทำให้ผู้ชมเว็บหยุดเพื่อที่จะอ่านข้อมูล

วิธีการที่ดึงดูดดความสนใจที่ดี เช่น การใส่ภาพคนลงบนจุดกึ่งกลางของหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำสายตาผู้เข้าชมไปที่ภาพนั้นๆ

 

"Interest" อธิบายเพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้าหรือบริการ

เมื่อใช้ภาพคนเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเว็บหยุดที่หน้าเว็บไซต์ได้แล้ว ก็ให้เขียนรายละเอียดเพื่อให้คนสนใจอ่านข้อมูลต่อไปทันที ดังนั้นหากกระบวนการแรก (Attention) ไม่สามารถทำให้ผู้ชมเว็บหยุดเพื่อที่จะอ่านข้อมูลได้ ก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดกระบวนการที่สอง (Interest) ได้ เนื่องจากผู้เข้าชมจะไม่สนใจที่จะอ่านข้อความธรรมดา หากไม่มีสิ่งดึงดูดสายตาก่อน

 

"Desire" ทำให้เกิดความรู้สึกอยากซื้อหรือใช้บริการ

เมื่อเกิด Interest แล้ว ก็ต้องกระตุ้นให้ผู้ที่กำลังอ่านข้อมูลสินค้าหรือบริการบนหน้าเว็บไซต์เกิดรู้สึกอยากซื้อหรือใช้บริการ โดยอาจจะแสดงรูปภาพที่โดดเด่นของสินค้าหรือบริการเสริมเข้าไปได้

 

"Action" ปิดการขาย หรือ ทำให้ตัดสินใจซื้อ

ต้องให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เกิดการกระทำบางอย่างบนเว็บไซต์ (Call to action) เช่น สมัครสมาชิก ส่งแบบสอบถามมาที่หน้าเว็บไซต์

 

ดังนั้น ให้จินตนาการว่า เมื่อผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ อ่านเนื้อหามาถึงจุดหนึ่งแล้ว คุณอยากให้เขาไปที่หน้าไหนต่อ แล้ววางลิงค์อ่านต่อไว้ที่ข้างๆ เนื้อหานั้น เช่น เว็บไซต์โรงแรม จะวางปุ่มจองห้องพัก ไว้ข้างๆ รูปภาพที่แสดงรายละเอียดของห้องพัก เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถคลิกที่ปุ่มจองได้ทันที เป็นต้น

 

ลองมาดูสรุปใจความและภาพตัวอย่างประกอบกันอีกครั้งนะคะ

 

4. Simplicity ความง่ายในการใช้งาน


เว็บไซต์ที่ดีควรแสดงถึง "ความง่ายของการจัดเรียงข้อมูล" ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย แต่หากเว็บไซต์มีการจัดเรียงข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบหรือไม่เป็นหมวดหมู่แล้ว ก็จะเพิ่มเวลาในการค้นหาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ จนอาจมีผลให้เขาเหล่านั้นออกจากเว็บไซต์ของคุณไปเลยก็เป็นได้

 


สำหรับวิธีที่จะช่วยจัดเรียงโครงสร้างข้อมูลของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น มีดังนี้ค่ะ

แสดง "เมนู" และ "ปุ่ม" สำหรับคลิกในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์อย่างชัดเจน และหลีกเลี่ยงการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ซับซ้อน เข้าใจยาก

 

จัดทำหน้า Sitemap หรือ แผนผังเว็บไซต์ สำหรับผู้ใช้ เพื่อเป็นแผนที่บอกเส้นทาง พาผู้เข้าเยี่ยมชมไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้

ใช้แบบฟอร์มสำหรับติดต่อหรือสั่งซื้อ เพื่อให้ง่ายต่อเจ้าของเว็บไซต์ ที่จะติดต่อกลับไปที่ลูกค้าเพื่อให้ข้อมูลสินค้าและบริการเพิ่มเติมได้ โดยการสร้างแบบฟอร์ม แต่ต้องไม่บังคับให้ผู้กรอกฟอร์มใส่ข้อมูลเยอะเกินไป

 

 จัดกลุ่มข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบ "Breadcrumb Navigation" ซึ่งจะเป็นเสมือนเครื่องมือนำทางแก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในแต่ละหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นลำดับขั้นโดยง่าย


 

ควรสร้าง Link ไปหน้า Homepage จากทุกหน้า เพื่อให้ผู้เข้าชมนั้นสามารถคลิกกลับมาเริ่มต้นที่หน้าแรกของเว็บไซต์ได้ รวมถึงสร้าง Menu ด้านล่าง (Footer Menu) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้สามารถไปยังเมนูอื่นๆ ที่ต้องการได้ แม้จะอยู่ด้านล่างของหน้า โดยไม่ต้อง Scroll กลับขึ้นไปด้านบน

 

5. Credibility ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์


ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การสร้างตัวตนของธุรกิจบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ เริ่มตั้งแต่ การใช้ Social Network นำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ ไปจนถึงการเปิดเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ขายสินค้าเป็นเรื่องเป็นราว ก็ทำได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
 

และในมุมของผู้ซื้อ แม้ช่องทางออนไลน์จะทำให้การจับจ่ายเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าเป็นไปได้อย่างง่าย สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงที่ร้าน แต่ก็ยังมีผู้ชมเว็บไซต์อีกมากที่ไม่กล้าซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากยังไม่เห็นสินค้าจริง ก็ทำให้เกิดความสงสัย ไม่มั่นใจ และระแวงได้


ดังนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ท่านเจ้าของเว็บไซต์จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เกิดความมั่นใจและวางใจว่าเว็บไซต์ของคุณไม่ใช่เว็บไซต์หลอกลวง โดยวิธีการที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือ มีดังนี้ค่ะ
 

  • ดีไซน์การออกแบบเว็บไซต์ ควรดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ (Professional Look) มีเนื้อหาอย่างครบถ้วน มีรูปภาพสินค้าหรือบริการประกอบเนื้อหาอย่างชัดเจน และจัดข้อมูลอย่างเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการเข้าชม

  • แสดงที่อยู่ติดต่อชัดเจน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ หรือกรณีที่มีหน้าร้านจริง สามารถแสดงแผนที่ตั้ง เพื่อยืนยันการมีตัวตน และรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้าที่สนใจได้

 

  • สร้างหน้า เกี่ยวกับเรา (About Us) แสดงเนื้อหาของประวัติความเป็นมา ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ ของบริษัท ภาพออฟฟิศ ทีมงาน 

  • มีเครื่องหมายรับรองจากสถาบันต่างๆ (Certification and Accreditation)  เช่น เครื่องหมาย DBD Verified, Registered ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เป็นต้น ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องนำเว็บไซต์ไปผ่านการตรวจรับรองจากองค์กรมาตรฐานต่างๆ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือว่าเว็บไซต์นี้อยู่ในขอบเขตของกฏหมาย


 

  • มีหน้าคำถามที่พบบ่อย FAQ (Frequently Asked Questions) แนะนำข้อมูลหรือตอบข้อสงสัยเบื้องต้นให้กับลูกค้า

  • มีตัวอย่างประสบการณ์ผู้ซื้อ ผู้ใช้บริการ (Testimonials) เพื่อแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้เคยให้บริการกับลูกค้ารายอื่นๆ หากลูกค้ามีชื่อเสียงในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ย่อมก่อให้เกิดผลในทางบวก และส่งเสริมภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ให้ดีขึ้น

 

  • แสดงเงื่อนไขและนโยบายในการซื้อหรือขายสินค้าและบริการที่ชัดเจน ช่วยให้เห็นถึงความจริงใจของเจ้าของเว็บไซต์ เพราะแสดงขอบเขตของการให้บริการ และคุณสมบัติของลูกค้า

  • ระวังการใช้ Webboard, Guest Book, Comments ถ้าจำเป็นให้ใช้ ระบบ Captcha ช่วยป้องกัน spam

 

 

สรุปกันอีกครั้งนะคะ กับวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ

 

แม้ว่าธุรกิจจะมีสินค้าที่มีคุณภาพดี ขายในราคาที่คุ้มค่า และมีการจัดกิจกรรมทางการตลาดพื้นฐานที่น่าสนใจ แต่หากนำข้อมูลเหล่านี้มาแสดงบนโลกออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ ก็อาจทำให้ผู้ชมเว็บไซต์จะเปลี่ยนใจไปเลือกซื้อสินค้าที่เว็บไซต์อื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือกว่าได้ และจำนวนลูกค้าของคุณก็จะลดลงอย่างน่าใจหาย จนทำให้ต้องล้มเลิกการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยขยายธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น อย่าลืมใส่ใจดูแลเว็บไซต์ ด้วยการใส่เนื้อหาตาม "องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี" ทั้ง 5 อย่าง คือ เว็บไซต์ต้องเข้าถึงได้ง่าย, แสดงผลได้เร็ว, ดึงดูดสายตา น่าสนใจ, ใช้งานง่าย และที่ขาดไม่ได้ ต้องมีความน่าเชื่อถือ ด้วยจุดเริ่มต้นง่าย ๆ เหล่านี้ ที่จะพาธุรกิจของคุณปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอนค่ะ




วิธีใส่ข้อมูลและตกแต่งเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet เบื้องต้น

เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป
วิธีใส่รูปภาพในเนื้อหาของเว็บไซต์
วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงก์สำหรับดาวน์โหลด
วิธีสร้างลิงก์ให้กับข้อความและรูปภาพ
การเลือกรูปแบบเว็บไซต์ (Template) และจัดโครงสร้างหน้าแรก (Layout)
เทคนิคการจัดการเมนูหลักที่สวยและดี
จัดการข้อมูลเมนูย่อยด้านข้างอย่างไรดี?
เลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
ข้อควรระวังในการทำเว็บไซต์และวิธีใส่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่ถูกต้องปลอดภัย article
แนะนำการวาง Code Youtube ในเว็บไซต์
วิธีสร้างลิงก์ E-Mail
4 วิธี เคลียร์เนื้อหายาวๆ ในเว็บไซต์ ให้น่าอ่าน
ติดต่อง่าย เก็บได้ข้อมูลดังใจกับ "แบบฟอร์มอิสระติดต่อกลับ"
ไม่พลาดการติดต่อด้วย "แบบฟอร์มมาตรฐาน"
ย่อรูปภาพอย่างง่ายด้วยเครื่องมือ "กำหนดขนาดรูปภาพ"
สร้างลิงก์รูปภาพเล็กไปรูปภาพใหญ่ ด้วยเครื่องมือ Text Editor
สร้างรูปภาพเคลื่อนไหวแบบ Marquee
วิธีสร้างไฟล์ภาพ Favorite Icon เพื่อแสดงผลในช่อง Address Bar
เทคนิคการสร้างลิงค์ ในหน้าเดียวกันด้วยคำสั่ง Anchor
เทคนิคการสร้างลิงก์เมนูและรูปภาพแบนเนอร์ ในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
วิธีใส่คีย์เวิร์ดในเว็บไซต์เพื่อให้ Google จัดเว็บไซต์ในอันดับที่ดี
วิธีติดตั้ง Facebook Page Plugin (Like Box) ในเว็บไซต์
วิธีแสดงผลเครื่องเล่น VDO บนหน้าเว็บไซต์
5 สิ่งที่ต้องมี บนโฮมเพจเว็บไซต์
แนะนำโปรแกรมตกแต่งและใส่กรอบรูปภาพฟรี! ใช้ง่าย นำไปแต่งเว็บให้โดดเด่นได้เลย
ใช้ระบบ Chat บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยถามตอบทุกข้อสงสัย พร้อมเพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากกว่า
โชว์เส้นทาง สร้างแผนที่บนเว็บไซต์ง่ายๆ ใช้ Google Map
Google Verification (วิธียืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับทาง Google)
วิธีการสร้างและยืนยัน Sitemap ของเว็บไซต์กับ Google
วิธีติดตั้งโค้ด Google Analytics
วิธีติดตั้งเครืองมือแปลภาษา Google Translate บนหน้าเว็บไซต์
ไขข้อข้องใจ "การทำเว็บไซต์ภาษาที่สอง"
สร้างฐานลูกค้าออนไลน์อย่างง่ายแต่มั่นคง ด้วยระบบสมาชิก
เทคนิคสร้างลิงค์และปุ่มโทรบนเว็บไซต์ เพื่อการติดต่อที่ง่าย แค่คลิก แล้วโทร
วิธีเพิ่มลิงก์ Add LINE และปุ่ม LINE it! บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยผู้ชมแชทง่าย แชร์ข้อมูลได้สะดวก